การบริจาคเลือด ถือเป็นการทำบุญอีกวิธีที่นอกจากจะสร้างประโยชน์ หรือเรียกว่าได้ต่อชีวิตให้กับคนอื่นๆ แล้ว ยังส่งผลดีต่อตัวผู้บริจาคอีกด้วย เพราะเป็นการกระตุ้นการทำงานของกระดูก,การสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ และยังช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของคนเรานั้นจะมีเลือดอยู่ในร่างกายปริมาณเท่ากับแก้วน้ำ 17-15 แก้ว แต่ร่างกายของเรานั้น จะใช้เลือดเพียง 15-16 แก้ว ดังนั้นจึงมีปริมาณเหลือเพียงพอในการบริจาคให้คนอื่นๆ ซึ่งหากใครกำลังสนใจบริจาคเลือด เรามีขั้นตอนและวิธีการบริจาคเลือดที่ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายพร้อม และไม่ได้รับอันตรายหลังจากบริจาคเลือดมาฝากกัน
- คุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด
- มีอายุตั้งแต่ 17 - 70 ปี (กรณีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง)
- กรณีบริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี
- มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
- มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ และไม่อยู่ในระหว่างการเจ็บป่วย หรือกำลังรับประทานยาใดๆ
- ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
- สตรีไม่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมไปถึงไม่มีการคลอดบุตรหรืออาการแท้งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
แน่นอนว่าทั้งนี้ ก่อนการบริจาคทุกครั้ง เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อพิจารณา คัดกรองผู้ให้บริจาคตามดุลยพินิจอีกครั้งก่อนอนุญาตให้บริจาคเลือดนั่นเอง
- การเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ โดยใช้เวลาในการนอนไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
- มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่อยู่ในช่วงเป็นหวัด เป็นไข้ หรือกำลังรับประทานยาปฎิชีวนะ
- รับประทานอาหารมื้อหลัก ก่อนมาบริจาค โดยแนะนำให้เลี่ยงอาหารไขมันสูง อย่างเช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ของทอด ของหวาน หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 24 ชั่วโมง ก่อนการบริจาคเลือด
- หากสูบบุหรี่ ควรงดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคเลือด 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกเลือดได้ดีขึ้น
- แนะนำให้ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว ก่อนการบริจาคเลือด 30 นาที เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น ลดอาการหน้ามืด เป็นลม หลังการบริจาคเลือด
- การปฎิบัติตัวหลังบริจาคเลือด
- หลังจากบริจาคเลือดเสร็จ ควรนั่งพักประมาณ 15 นาที พร้อมรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ ไม่ควรรีบร้อนกลับ เพราะอาจมีอาการหน้ามืด เป็นลมได้
- งดการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ทำให้เกิดการเสียเหงื่อมาก
- ภายใน 24 ชั่วโมงหลังบริจาคเลือด งดการใช้กำลังแขนข้างที่บริจาคเลือด
- 1 วันหลังบริจาค เน้นการดื่มน้ำให้มากกว่าที่เคยดื่มปกติ
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง รวมไปถึงยาธาตุเหล็กที่ได้รับจนหมด
การบริจาคเลือดนั้น ต้องการมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนบริจาค รวมไปถึงการดูแลร่างกายให้เหมาะสมหลังทำการบริจาค เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิม นอกจากการดูแลร่างกายแล้ว การมีทักษะการฝึกปฐมบาลเบื้องต้นก็สำคัญเช่นกัน เพราะช่วยให้เราสามารถดูแล รักษาตัวเองจากการบาดเจ็บได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงช่วยให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุให้ทุเลาเบาบางลงได้ เรียกได้ว่าในปัจจุบัน ทักษะการฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถือเป็นอีกสกิลที่สำคัญและควรมีติดตัวไว้ยามฉุกเฉิน ซึ่งหากใครกำลังมองหาพิกัดในการเรียนรู้หลักการฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ได้มาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ได้จริง ขอแนะนำ First Aid Training Bangkok ผู้ให้บริการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไปจนถึงการช่วยชีวิต CPR ที่ได้การรับรองจากต่างประเทศ และการยอมรับจากบริษัทชั้นนำของไทย
เปิดสอนและฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไปจนถึงการช่วยชีวิตด้วย CPR ด้วยใบรับรองมาตรฐานระดับสากล มีคอร์สและหลักสูตรให้เลือกหลากหลาย เลือกเรียนได้ตามความต้องการ ทุกคลาสให้การอบรมและฝึกสอนโดยวิทยากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งเนื้อหาภาคทฤษฎีและปฎิบัติ เพื่อให้สามารถนำไปปฎิบัติใช้ได้จริง เปิดให้บริการอบรมทั้งแบบบุคคลทั่วไป และรูปแบบองค์กร สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยที่ (Contact Info)
แบ่งปันบนโซเชียลมีเดีย